รายการ สถานีสุวรรณภูมิ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน




คือบัณฑิตเพลิงชมพูครุศาสตร์
มหาบัณฑิตสมมาดสาวอักษร
จามจุรีศรีจุฬาถิ่นนาคร
ที่เสกพรให้เป็น"ครู"รู้ค่างาน

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณอุทิศ เหมะมูลต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๑๑. คุณอุทิศ เหมะมูล นักเขียนซีไรต์ปี ๒๕๕๒ จากผลงานนวนิยาย ลับแล,แก่งคอย แสดงทัศนะว่า

" เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเรียนการสอน ปลูกฝังให้นักเรียนรักการอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้นักเรียนสนใจอ่านวรรณกรรมที่เป็นวรรณกรรมจริงๆ เป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์...การเริ่มต้นด้วยการดึงความสนใจของนักเรียนโดยใช้ตัวรางวัลซีไรต์ หรือตัววรรณกรรมมาสู่การสอน ก็หวังผลไปสู่ในระยะยาว คือสร้างนักเรียนที่เข้มแข็งขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น เราคาดว่าจากการอ่านที่เข้มแข็งขึ้น จากหนังสือวรรณกรรมที่นำมาสอน จะนำไปสู่ภาพของวรรณกรรมไทยที่กว้างขึ้นมากกว่าผลงานที่ได้รับรางวัล น่าจะมีงานดีๆ อย่างการเรียนการสอนนี้ ช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจในการอ่าน มีวุฒิภาวะในการอ่าน เขาก็จะสามารถคัดเลือกอ่านวรรณกรรมที่เขาสนใจและชอบอ่าน มีมิติอื่นๆต่อไป "

















มุมมองของคุณงามพรรณ เวชชาชีวะที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๑๐. คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนซีไรต์ ปี ๒๕๔๙ จากผลงานนวนิยาย ความสุขของกะทิ แสดงทัศนะว่า


" การได้พบกับนักเรียน ๒ ลักษณะ ทั้งที่ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน วิทยากรหรือผู้เขียนได้เห็นผู้อ่าน ได้ฟังข้อคิดเห็น จริงๆแล้วโอกาสที่จะได้พบคนอ่านมีน้อย ถ้าเราตั้งใจเขียนงาน...เวลาเด็กๆเขาคุยซักถามประเด็นต่างๆ เราก็นึกย้อนว่า..ตรงไหมกับที่คิดไว้..ตัวนักเรียนเองก็ได้เห็นการทำงานจริงๆของผู้เขียนว่าการทำงานทุกอย่างมีขั้นตอน มีการลองผิดลองถูก ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนต้องอาศัยแหล่งความรู้...ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรืออื่นๆ มิฉะนั้นความสำเร็จเกิดขึ้นได้ยาก...การเรียนการสอนแบบนี้เป็นส่วนเสริม...ถ้าเกิดได้หรือทำได้ก็น่ายกย่องครูผู้สอน.เด็กๆก็ได้จดจำเป็นพิเศษ เด็กจะได้หรือไม่ได้ การเตรียมงานของครูผู้สอนมีส่วนมาก..ถ้าไม่ชัดเจน ผลลัพธ์ที่เด็กได้ก็ไม่เหมือนกัน..ดีค่ะ
ที่มีการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นแรงบันดาลใจ ให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดี น่าจะทำต่อไปได้..ที่สำคัญอยู่ที่ตัวเด็กเองด้วย "


















วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๙. คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ปี ๒๕๒๓ จากผลงานกวีนิพนธ์ เพียงความเคลื่อนไหว แสดงทัศนะว่า


" ความรู้สึกแรก..พอได้รู้ว่าที่นี่เป็นแห่งแรกที่มีการสอนเรื่องซีไรต์ ก็อยากให้รางวัลซีไรต์กับโรงเรียนนี้...คือ รางวัลไม่ใช่เรื่องสูงสุด มันไม่ใช่เป็นการประเมินค่าของวรรณกรรมที่แท้จริง มันเป็นสถานะอันหนึ่งสำหรับในช่วงกาลเวลา หรือในงานในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ที่คุณค่าของมันคือ มันทำให้พัฒนาวรรณกรรมบ้านเราได้หรือเปล่า ผมเคยเสนอว่า การส่งเสริมหรือการพัฒนาให้เกิดวรรณกรรมที่ดีนั้น มันควรมีอย่างอื่นด้วย อย่างเช่นที่นี่...มีการเรียน การพูด มีการมาวิจารณ์กันนี่ นี่ก็เป็นการพัฒนาเรื่องวรรณกรรมอย่างหนึ่ง...มีการวิจารณ์..เวลานี้เราขาดนักวิจารณ์ ไม่เฉพาะวรรณกรรม ศิลปะทั้งหมด
สิ่งนี้ก็ต้องส่งเสริมกันขึ้นมา ไม่ใช่ประกวดอย่างเดียว.."







วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณบินหลา สันกาลาคีรี ต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๘. คุณบินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนซีไรต์ปี ๒๕๔๘ จากผลงานเรื่องสั้น เจ้าหงิญ แสดงทัศนะว่า

" เป็นกลวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กได้อ่านหนังสือ ผมประทับใจอาจารย์ที่ทำให้เด็กกล้าหาญ กล้าซักถาม แสดงความคิดกล้าอธิบายความคิด ซึ่งกระบวนการสอนของเมืองไทยยังด้อยตรงจุดนี้ คุยเรื่องหนังสือเป็นเรื่องยาก..ยิ่งเป็นหนังสือที่ถูกประทับตราซีไรต์..มันยิ่งยากขึ้นไปอีก เด็กจะกล้าถามหรือเปล่า? แต่อาจารย์ทำได้..เพราะบุคลิกอาจารย์เป็นคนกล้า เด็กนักเรียนจึงกล้าที่จะถามตามแบบอาจารย์ และที่สำคัญเด็กมีความภาคภูมิใจในวิชาที่เรียน เพราะเปิดสอนแห่งเดียวในประเทศไทย ถ้าถามผมว่าการศึกษาคืออะไร? ผมก็จะตอบว่า การศึกษาคือการเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิดและทำตามสิ่งที่ตัวเองคิดและไม่ต้องเชื่อว่ามันจะล้มเหลว วิชานี้มีส่วนนี้ ผมเองไม่ค่อยเชื่อว่าหนังสือซีไรต์จะดีที่สุด แต่การลงลึกในรายละเอียดของหนังสือจะทำให้เด็กได้ประโยชน์ ตัวข่าวสารก็เป็นแรงกระตุ้นให้เด็กเกิดความกระหายที่อยากอ่าน ยิ่งมีคนชี้นำ ชักจูง อาจารย์สามารถดึงจุดนี้มาใช้อย่างเหมาะสม และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับเด็กนักเรียน..ผมประทับใจมาก "












มุมมองของคุณวัชระ สัจจะสารสินต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๗. คุณวัชระ สัจจะสารสิน นักเขียนซีไรต์ปี ๒๕๕๑ จากผลงานเรื่องสั้น เราหลงลืมอะไรบางอย่าง แสดงทัศนะว่า

" ก็มองว่าเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ หลักสูตรที่เปิดสอนวิชาซีไรต์โดยตรงอย่างจริงๆจังๆของอาจารย์นัยนา ซึ่งน่าจะเป็นที่นี่ที่เดียวที่เปิดสอนแบบนี้ โดยทำให้นักเรียนได้อ่านหนังสือและสัมผัสกับนักเขียน ให้เด็กได้มีโอกาสซักถาม สิ่งที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือ ที่มาของการสร้างสรรค์งาน ทำให้นักเรียนเข้าใจตัวงานมากขึ้น เข้าใจความหมายที่สื่อ...ส่วนตัวผม มองว่า นักเขียนก็สามารถเรียนรู้จากเด็กๆด้วยทำให้นักเขียนได้กลับมาสำรวจตัวเองว่ามีคนที่มองมุมต่าง เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเขียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วย
สำหรับมุมซีไรต์สัมพันธ์ในห้องสมุด...ผมว่าทำให้นักเขียนเกิดความรู้สึกที่ดีที่มีคนชื่นชม มีทั้งการนำเสนอภาพถ่ายและกิจกรรมร่วมกับนักเรียน เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดการอยากอ่านหนังสือ สนับสนุนให้ฝึกนิสัยรักการอ่าน...ผมว่าดีครับ ขอให้ทำต่อไป..เป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ "


















วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๖. คุณเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์ปี ๒๕๔๗ เจ้าของผลงานกวีนิพนธ์แม่น้ำรำลึก แสดงทัศนะว่า


" ได้เปลี่ยนบรรยากาศ..นักเรียนได้เห็นชีวิตนักเขียนในแง่มุมส่วนตัวบ้าง..นี่พูดถึงนอกห้องเรียน ถ้าเชิญนักเขียนมาในห้องเรียน ก็อาจสร้างความรู้สึก เกิดแรงบันดาลใจ ได้อ่านหนังสือ..ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี..ผมเคยมองย้อนไปตอนเด็กๆขณะเรียนหนังสือ..ไม่เคยเจอนักเขียนเลย เพราะไม่มีครูเชิญมา..ถ้ามีก็อาจเป็นนักเขียนได้เร็วกว่านี้..ผมคิดว่าน่าจะได้เจอตัวตน อย่างน้อยก็รู้สึกดี
ในด้านตัวผู้สอน...คุณครูมีส่วนอย่างมาก มีครูเป็นสื่อระหว่างนักเขียนกับนักเรียน น่าจะดี..ผมเห็นด้วยที่มีการเรียนการสอนแบบนี้ ได้เจอตัวจริง..ชีวิต ผลงานของนักเขียน..ควรจะมีทุกๆโรงเรียน.."


















วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณโชคชัย บัณฑิตต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๕. คุณโชคชัย บัณฑิต กวีซีไรต์ปี ๒๕๔๔ จากผลงานกวีนิพนธ์ บ้านเก่า แสดงทัศนะว่า


" ผมว่าการเรียนการสอนแบบนี้ ทำให้เด็กสนใจมากขึ้น เพราะได้พบกับเจ้าของผลงาน..สมัยผมตอนเด็กๆอยากเจอนักร้องที่เราชอบ..พอเจอแล้วก็ติดตามผลงาน สำหรับนักเรียน..อาจได้แรงบันดาลใจเป็นแรงกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการอ่าน..นิสัยรักการอ่าน
อีกอย่างนักเรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้...ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนอย่างเดียว นำไปสู่การสร้างสัมพันธภาพและได้สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง..."


CIMG7521

CIMG7534

CIMG7476

CIMG7505

CIMG7471

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมมองของคุณวินทร์ เลียววาริณต่อการเรียนการสอนวิชาพินิจวรรณกรรมซีไรต์

๔. คุณวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนซีไรต์ปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๔๒ จากผลงานนวนิยาย ประชาธิปไตยบนเส้นขนานและเรื่องสั้น
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน แสดงทัศนะว่า

" ดีครับ..การที่สอนให้เด็กรู้จักวรรณกรรมก็ดีอยู่แล้ว ทำให้เด็กสนใจอยากอ่านหนังสือมากขึ้น ยิ่งครูมีวิธีการสอนใหม่ๆให้เด็กมีโอกาสเจอตัวจริงของคนเขียน ก็ทำให้การเรียนวรรณกรรมเป็นเรื่องสนุก เพราะเทคนิคการสอนเป็นสีสันทำให้วรรณกรรมเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น ตอนเด็กถ้ามีโอกาสได้คุยกับนักเขียนใหญ่ๆที่เราประทับใจ ก็เป็นแรงบันดาลใจและเป็นความรู้สึกทางจิตใจนะ ผมว่า...เป็นสิ่งที่ดีที่ได้คุยกับนักเขียน ได้รู้มุมมองในชีวิตของนักเขียน สมัยผมเด็กๆอยู่ต่างจังหวัดยากมากที่จะมีโอกาสเจอนักเขียนที่ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ผมว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเด็กด้วย ถ้ามีโอกาสอย่างนี้ ก็คงจะจุดประกายและเป็นแรงบันดาลใจในการอ่านและการใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนในอนาคตได้..ดีครับที่ครูมีเทคนิคการสอนที่ให้โอกาสเด็กค้นพบตัวเอง.."