รายการ สถานีสุวรรณภูมิ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน




คือบัณฑิตเพลิงชมพูครุศาสตร์
มหาบัณฑิตสมมาดสาวอักษร
จามจุรีศรีจุฬาถิ่นนาคร
ที่เสกพรให้เป็น"ครู"รู้ค่างาน

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

นักเขียนรางวัลศิลปาธร

รางวัลศิลปาธร

Posted  by  & filed under นักเขียนรางวัลศิลปาธร.

รางวัลศิลปาธร
รางวัลศิลปาธร เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทย ผู้มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง และอายุตั้งแต่ 30-50 ปี จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยให้ก้าวไปในเส้นทางอาชีพได้อย่างมั่นคงและมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานอย่างอิสระ แบ่งออกเป็น 5 สาขาคือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ สาขาคีตศิลป์ สาขาภาพยนตร์ และสาขาศิลปะการแสดง เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2547
รายชื่อนักเขียนรางวัลศิลปาธร
๑. ชาติ กอบจิตติ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. ศักดิ์สิริ มีสมสืบ พ.ศ. ๒๕๔๘
๓. วินทร์ เลียววาริณ พ.ศ. ๒๕๔๙
๔. ศิริวร แก้วกาญจน์ พ.ศ. ๒๕๕o
๕. ขจรฤทธิ์ รักษา, ไพวรินทร์ ขาวงาม พ.ศ. ๒๕๕๑
๖. อรสม สุทธิสาคร พ.ศ. ๒๕๕๒
๗. เสน่ห์ สังข์สุข พ.ศ. ๒๕๕๓

จากรายชื่อข้างต้นจะพบว่ามีนักเขียนและกวีซีไรต์ถึง 4 คนได้แก่

1. ชาติ กอบจิตติ (นักเขียนซีไรต์)
 
2. ศักดิ์สิริ มีสมสืบ (กวีซีไรต์)

3. วินทร์ เลียววาริณ (นักเขียนซีไรต์)

4. ไพวรินทร์ ขาวงาม (กวีซีไรต์)

    รางวัลศิลปาธรว่างเวันไปเป็นเวลา 3 ปี และกลับมารื้อฟื้นใหม่อีกครั้ง ในปี 2557


กวีรางวัลสุนทรภู่ :  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

โฉมหน้า 10 กวีอาเซียน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตัวแทนไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์5 กรกฎาคม 2556 07:38 น.
โฉมหน้า 10 กวีอาเซียน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตัวแทนไทย
       หากพูดถึง “บทกวี” คนไทยจะนึกถึง “สุนทรภู่” บรมครูของไทย ที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกวรรณกรรม ท่านได้รังสรรค์ผลงานผ่านตัวอักษรไว้มากมาย เช่น พระอภัยมณี สุดสาคร นิราศภูเขาทอง ฯลฯ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา สัมผัสถึงความไพเราะเพราะพริ้งของภาษา จึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสุนทรภู่ 
       สนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เล่าว่า ปีนี้จัดขึ้นพิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้มีหนังสือถึงกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เมื่อปี 2555 ให้เสนอชื่อกวีผู้มีผลงานโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับของวงการกวีของประเทศละ 1 ท่าน เพื่อยกย่องเป็น “กวีของชาติ” ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เสนอชื่อมา ประกอบด้วย 1.อาวัง ฮาจิ ฮาซิม บิน ฮาจิ อับดุล ฮามิด จากบรูไนดารุสซาลาม 2.เวิน ซอน จากกัมพูชา 3.อากุส อาร์. ซาร์โจโน จากอินโดนีเซีย 4.ดารา กัลยา (ดวงจำปา) จากลาว 5.ซูริน่า ฮัสซัน จากมาเลเซีย 6.อู ซอ ลวิน จากพม่า 7.เมอร์ลี เอ็ม. อลูนัน จากฟิลิปปินส์ 8.เอ็ดวิน นาดาซัน ตัมบู จากสิงคโปร์ 9.เตริ่น ดัง ควา จากเวียดนาม 10.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จากไทย
      
       โดยจัดพิธีมอบโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลให้กับ 10 ศิลปินประเทศสมาชิกอาเซียน ในงานวันสุนทรภู่ ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
      
       พร้อมกันนี้ ทาง วธ.ยังพิมพ์หนังสือเชิดชูเกียรติเป็น 3 ภาษา คือไทย อังกฤษ และภาษาที่กวีประเทศนั้นใช้สื่อสาร ตลอดจนเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดียด้วย
โฉมหน้า 10 กวีอาเซียน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตัวแทนไทย
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
       ขณะที่เฟซบุ๊กสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากลได้เผยแพร่ประวัติและผลงานกวี จึงขอตัดใจความสำคัญ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิด 26 มีนาคม 2483 เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโต จากพี่น้อง 5 คน พ่อแม่อย่าร้างกัน ส่วนผลงานกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์แสดงสายสัมพันธ์ระหว่างศาสนา ธรรมชาติกับมนุษยชาติ โดยใช้พื้นฐานทางพุทธปรัชญา และวัฒนธรรมไทยที่กวีได้เรียนรู้ได้ซึมซับจนเกิดความกระจ่างแจ้งในใจ แล้วจึงสื่อสาระที่กลั่นกรองซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางความเชื่อ ศาสนา หรือวัฒนธรรมใดๆ เพราะกวีได้ใช้ธรรมชาติเป็นสื่อแสดงสัจธรรม โดยพรรณนาถึงความสัมพันธ์กันอย่างเอื้ออาทรของสรรพสิ่งในโลกธรรมชาติ ชีวิตแห่งธรรมชาติและความสมดุลที่ธรรมชาติได้สร้างให้แก่โลกสัจธรรมแห่งธรรมชาตินี้จักกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้หยุดทะเยอทะยาน หยุดเข่นฆ่าล้างผลาญ ก่อให้เกิดความสงบในใจและเกิดสันติสุขสำหรับมวลมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกเผ่าพันธุ์หรือเชื้อชาติ เพราะกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์แสดงถึงความเป็นกลางและเมตตาธรรม แสดงความเป็นมิตรกับคนทั้งโลก ไม่รุกราน ไม่ข่มขู่ไม่ยัดเยียดให้เชื่อ
      
       ด้าน ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บอกว่า รางวัลกวีอาเซียนถือเป็นนิมิตหมายอันดี จะกระตุ้นให้แต่ละประเทศอาเซียนได้เปิดโลกทัศน์ทางด้านภาษาและวรรณกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจะได้เรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ผ่านตัวอักษร ก่อนเปิดประตูสู่เสรีอาเซียน 2558 อย่างเป็นทางการ
      
       ...เชื่อว่า รางวัลกวีอาเซียน จะกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ หันมาพรรณาผ่านบทกวีเพิ่มมากขึ้น