รายการ สถานีสุวรรณภูมิ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน




คือบัณฑิตเพลิงชมพูครุศาสตร์
มหาบัณฑิตสมมาดสาวอักษร
จามจุรีศรีจุฬาถิ่นนาคร
ที่เสกพรให้เป็น"ครู"รู้ค่างาน

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

จงวิจารณ์กวีนิพนธ์ นครคนนอก ของ พลัง เพียงพิรุณห์

บทกวี เจน-ซี
กลับจากห้างเปิดออนไลน์โพสต์ขายของ
ผิดลอง ถูกผ่านนานหนักหนา
ในสังคมสวมอาภรณ์ซ่อนแววตา
ผู้คนหนึ่งหน้าหลายตัวตน
ดุจคู่รักถูกกักกลางแดนโหด
เต็มด้วยคนโฉดคนฉ้อฉล
ไม่มีชีวิตใดไม่ดิ้นรน
ต่างเดินย่ำบนซากคน ป่าเป็นภู
(หน้า ๔๑-นครคนนอก)

บทกวี มนุษย์ต่างดาว

    ดาวของผมนะ...
ไม่มีภาระให้ต้องบ่น
ไม่มีเขตแดนให้เดินชน
ไม่ต้องค้นเลขบัตรประจำตัว
    ไม่มีสงครามไม่จำเป็น
ยังไม่เคยเห็นใครทำชั่ว
ยิ่งทำงานจมปลักหนักเหมือนวัว
คุณไม่ต้องกลัวสบายสบาย
     ไม่ต้องใช้โทรศัพท์หรอกสักนิด
ใช้แต่โทรจิตเป็นเครือข่าย
ไม่ต้องเติมเงินให้วุ่นวาย
ไม่ต้องวุ่นย้ายค่ายให้เรื่องยาว
       บินโลว์คอสต์ไฮไพรซ์ไม่ต้องกลัว
อยากหายตัวไปในหนก็แค่หาว
อยากเหาะกระเดาะลิ้นก็บินพราว
ดวงดาวของผมร่มเย็นจริง
(หน้า ๑๒๘-๑๒๙ -นครคนนอก)

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

พลัง เพียงพิรุณห์(นามจริงคือ เกริกศิษฏ์ พละมาตร์) กวีซีไรต์ปี ๒๕๕๙ คนล่าสุดกับผลงานกวีนิพนธ์เรื่อง นครคนนอก ในวันแถลงข่าวแนะนำกวีซีไรต์คนใหม่ ณ โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙










วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ประกาศแล้ว ผลการตัดสินกวีนิพนธ์ 6 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์

โดย MGR Online   


8 กันยายน 2559 14:48 น. (แก้ไขล่าสุด 9 กันยายน 2559 12:58 น.)
ประกาศแล้ว ผลการตัดสินกวีนิพนธ์ 6 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก "พินิจ นิลรัตน์"
        ให้ลุ้นมาพักหนึ่งล่าสุดก็ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับหนังสือกวีที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ประจำปี 2559
       
        โดยจาก 88 เล่มที่ส่งเข้าประกวด ในปีนี้คณะกรรมการชุดแแรกได้มีการคัดเลือกผู้ที่ได้เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 6 เล่มด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย..
       
       1. ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา ของ โรสนี นูรฟารีดา
       
       2. ทางจักรา ของ ศิวกานท์ ปทุมสูติ
       
       3. นครคนนอก ของ พลัง เพียงพิรุฬห์
       
       4. บางคนอาจเดินสวนทางเราไป ของ บัญชา อ่อนดี
       
       5. พลัดหลงไปในห้วงเวลาของนักมายากล ของ วิสุทธิ์ ขาวเนียม
       
       6. เพลงแม่น้ำ ของ โขงรัก คำไพโรจน์
       
        ทั้งนี้ การตัดสินผู้ที่จะได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลซีไรต์ประจำปี 2559 ประเภทกวีนั้นจะมีขึ้นในราว ๆ กลางเดือนตุลาคมนี้...


ที่มา  Manager Online 8 September 2016
       

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

   เผยโฉม 18 กวีนิพนธ์ ผ่านเข้ารอบแรก ซีไรต์ 59





8 สิงหาคม 2559 08:58 น.

        ตามลุ้นกันมานาน ในที่สุด ผลการคัดเลือกหนังสือ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2559 ประเภทกวีนิพนธ์ รอบแรก (Long List) ก็ได้เผยโฉมออกมาแล้ว
      
       โดย คณะกรรมการคัดเลือก รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2559 อาทิ สมเกียรติ คู่ทวีกุล ประธานคณะกรรมการคัดเลือก, สุนันท์ พันธุ์ศรี, สรตี ปรีชาปัญญากุล, พินิจ นิลรัตน์, จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, จรูญพร ปรปักษ์ประลัย และ วรวุฒิ ภักดีบุรุษ รับหน้าที่เป็นกรรมการคัดเลือก ได้พิจารณาและลงมติคัดเลือกให้ผลงาน กวีนิพนธ์ ที่ส่งเข้าประกวดจำนวนทั้งหมด 88 เรื่อง ผ่านเข้ารอบแรก (Long List) จำนวน18 เรื่อง ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
      
       1.กาฬโลก โดย “เจริญขวัญ”
       2.แก้วตาของยาย โดย ภักดี ไชยหัด
       3.ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา โดย โรสนี นูรฟารีดา
       4.คำอมฤต โดย สาคร ชิตังกรณ์
       5.เงาไม่มีเงา โดย นายทิวา
       6.ทางจักรา โดย ศิวกานท์ ปทุมสูติ
       7.นครคนนอก โดย พลัง เพียงพิรุฬห์
       8.นอนดูดาว ใต้ร่มไม้ บ่ายวันศุกร์ โดย อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ
       9.นิธาร โดย ‘กุดจี่’ พรชัย แสนยะมูล
       10.ในอ้อมกอดของการหลงลืม โดย นิรัติศัย หล่ออรุโณทัย
       11.บางคนอาจเดินสวนทางเราไป โดย บัญชา อ่อนดี
       12.ประเทศของท่าน บ้านของผม โดย พิเชฐ แสงทอง
       13.พลัดหลงไปในห้วงเวลาของนักมายากล โดย วิสุทธิ์ ขาวเนียม
       14.เพลงแม่น้ำ โดย โขงรัก คำไพโรจน์
       15.โรงละครของมนุษย์ต่างดาว โดย มุทิตา
       16.สายลมบุพกาล โดย ลอง จ้องรวี
       17.เส้นรอบวงกลมปราศจากจุดจบ โดย กานต์ ลิ่มสถาพร
       18.หลากถ้อยในรอยทาง โดย โชคชัย บัณฑิต’
      
       ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้พิจารณาหนังสือบทกวีทั้งหมดนี้เพื่อประกาศผลรอบสุดท้าย (Short List) ต่อไป
 

       

ที่มา : http://imgads.manager.co.th/Celebonline/ViewNews.aspx?NewsID=9590000077422

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์และผลงาน

ผลงานของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์   กวีซีไรต์ปี ๒๕๔๗



นักปั้นน้ำ 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9789749106266
ราคาปก : 130 บาท
ราคาพิเศษ: 117 บาท

 
กระดูกของความลวง (รางวัลดีเด่น ประเภทรวมเรื่องสั้น (สพฐ.) ปี 2555) 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9789744967701
ราคาปก : 190 บาท
ราคาพิเศษ: 171 บาท

 
สวนโลก (ฉบับปรับปรุง) 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9789990097689
ราคาปก : 190 บาท
ราคาพิเศษ: 171 บาท

 
นักเข้าฝัน ความใคร่ครวญหวนไห้ 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์  /
Barcode : 9789747528879
ราคาปก : 240 บาท
ราคาพิเศษ: 216 บาท

 
แมวผู้มองเห็นกำแพงเป็นสะพาน ความเศร้าแสนงาม รร้อยกรองในร้อยแก้ว (รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 25
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9789990110920
ราคาปก : 190 บาท
ราคาพิเศษ: 171 บาท

 
แม่น้ำเดียวกัน (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทกวีนิพนธ์ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 10 ปี 2
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9786163212832
ราคาปก : 130 บาท
ราคาพิเศษ: 117 บาท

 
นัยในนัยน์ (รางวัลชมเชย หนังสือรวมเรื่องสั้น (สพฐ.) ปี 2558) 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9789990085877
ราคาปก : 250 บาท
ราคาพิเศษ: 225 บาท

 
แม่น้ำที่สาบสูญ 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พัฒน์ /
Barcode : 9789990110814
ราคาปก : 140 บาท
ราคาพิเศษ: 126 บาท

 
แม่น้ำรำลึก (ฉบับไทย-อังกฤษ) 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พัฒน์ /มาลิทัต พรหมทัตตเวที
Barcode : 9786163824875
ราคาปก : 290 บาท
ราคาพิเศษ: 261 บาท

 
แม่น้ำรำลึก (รางวัลซีไรท์ ปี 2547) (ปกแข็ง) 
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ /
Barcode : 9786167552446
ราคาปก : 285 บาท
ราคาพิเศษ: 256 บาท

 

ที่มา : http://www.chulabook.com/speedsearch.asp?keyword=%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&Option1=Author&x=24&y=10



เพราะการเขียนคือการบำบัด กับกวีซีไรต์ 
“เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์”

กวีซีไรต์ปี 2547 “เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์” เปิดบทสนทนาในรายการคิดระหว่างบรรทัด วันที่ 14 ก.ค.2556 ตามสไตล์กวีพูดน้อยต่อยหนัก ว่า เขาไม่ได้มีวันหยุดแบบคนอื่นๆ  ถือว่าทุกวันเป็นวันหยุด แต่ถ้านับว่าการอ่านการเขียนเป็นการทำงาน เขาก็ทำงานทุกวัน ซึ่งเขาไม่ได้มีงานประจำ แต่เขียนหนังสือเป็นอาชีพ ช่วงหลังๆ ก็จะพยายามทำงานช่วงเช้ามืด ฝึกวินัยในการตื่นสักตีสาม เตรียมตัวไปจนถึงตีสี่ก็เขียนไปเรื่อยๆ จนสายๆ ก็หยุด นักเขียนทุกคนจะเขียนจากประสบการณ์และเบื้องหลังของชีวิต เพราะมีอะไรให่เก็บเกี่ยวตามวัยของอายุที่เพิ่มขึ้น และไม่ได้ตั้งเงื่อนไขให้ตัวเองว่า จะต้องใช้เวลากับการเขียนทั้งวันหรือต้องอยู่ในที่เงียบ ส่วนตัวมั่นใจว่ามีสมาธิกับการงานที่ทำตรงนั้น


เมื่อถามว่า สิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีมากขึ้น มีผลต่อสมาธิในการเขียนหรือไม่ คุณเรวัตร์ อธิบายว่า ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนประเด็นอะไร ส่วนตัวจะเขียนในเรื่องที่อยู่ในตัวเอง ดำดิ่งลงไป ชีวิตจิตวิญญาณ ค้นหารากเหง้า ไม่ได้เขียนที่ปลายเหตุ แต่สนใจสิ่งที่เป็นรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านในเมือง ไม่เขียนด้วยอารมณ์ เพราะการเขียนคือการบำบัด

“ผมไม่ได้ต้องการสร้างคำคมใหม่ ไม่ได้สร้างโลกใหม่ แต่เขียนเพื่อเยียวยาจิตวิญญาณตัวเอง ผมคิดว่า แต่ละคนก็มีความทุกข์ความเศร้าอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย และการเขียนก็เพื่อให้เราได้สนทนากับตัวเอง ได้ตั้งคำถามกับตัวเอง” คุณเรวัตร์ กล่าวด้วยน้ำเสียงเรียบๆ

เมื่อถามว่า หากมองรูปแบบเขียนเป็นเครื่องมือในการบำบัดตัวเอง เรื่องสั้นกับกวีบำบัดตัวเองในแง่ไหน คุณเรวัตร์ เปรียบเทียบว่า กวี เป็นบทสนทนาที่มีสุนทรียะ ในเวลาเป็นภาวะที่รื่นรมย์ เกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น แต่การเขียนเรื่องสั้นหรือนวนิยาย อาจทำให้เราเป็นทุกข์มากขึ้นด้วยซ้ำ แต่เพราะเราต้องถกเถียงกับตัวเอง มันมีระยะเวลา มีระยะทาง เปรียบเหมือนพระที่เดินธุดงค์เข้าไปในป่า แต่บทกวี เมื่อตื่นเช้าอาจจะเจอกับภาวะกวีได้โดยที่เราไม่ตั้งใจ

“แนะนำสำหรับน้องที่จะเป็นกวี ต้องมีกระดาษและดินสอวางไว้ทุกที่ ในสถานที่ที่คุณชอบไปทำกิจกรรมในแต่ละวัน พอในหัวมีเรื่องวาบๆ ขึ้นมา ก็จะจดไว้ก่อนได้ ผมมีวางไว้ทุกมุม แม้กระทั่งในห้องน้ำ หรือแม้แต่ตอนทำครัว อย่างเมื่อก่อนผมอยู่บ้านสวน พอในหัววาบเรื่องขึ้นมา หากเราไม่มีอุปกรณ์ ก็จะลืมได้” คุณเรวัตร์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น

คุณเรวัตร์ถามถึงบทกวีแบบเซนกับบทกวีแบบไทย ว่า คนที่เขียนงานกวีในแบบเซนจะมีวิถีชีวิต วิถีธรรมชาติที่แตกต่างจากเรา อยู่กับธรรมชาติที่แปรปรวนตลอดเวลา อย่างญี่ปุ่นจะมีแผ่นดินไหว มีสึนามิ ขณะที่เราไม่ค่อยมีอะไรจะมีจังหวะที่ทอดยาวได้มากกว่า ขณะที่ ไฮกุนั้นสั้น แต่มีระหว่างบรรทัด แต่ก็ไม่ใช่นึกจะเขียนอะไรเท่ๆ ลงไปก็ได้ ขณะที่ส่วนตัวเลือกเขียนตามขนบของสุนทรภู่ มีกลอนแปด มีเพลง เพราะเราคยฟังและได้ยินท่วงทำนองแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก แม้ไม่ได้เนื้อหาอะไร แต่อ่านแล้วจะได้จังหวะ ก็ลองเลือกอ่านหลายๆ แบบ ไม่ต่อต้านเลย บทกวีไม่ว่าประเทศอะไรให้ลองอ่านดู เหมือนกับแลกเปลี่ยนกัน

เมื่อถามถึงความน่าสนใจของบทกวี คุณเรวัตร์ อธิบายว่า บทกวีชูธงหรือบทกวีที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ก็เร้าใจเป็นระยะๆ แต่บทกวีที่ดิ่งลึกเข้าไปในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ มันตราตรึง ให้เราได้ครุ่นคิด ครุ่นคะนึงถึงชีวิตที่ผ่านๆ มา เมื่อเราตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อเป็นทนุษย์ทำงานไปวันๆ มีวัตถุโน้นนี่นั่นครบถามขนบ หรือเรามาไตร่ตรองว่า ชีวิตคนเรานั้นแสนสั้น เคยเติมเต็มชีวิตในด้านสุนทรียะ ความงาม ความจริงบ้าง ส่วนตัวเวลาเขียน เวลาอ่านกวี ตนเองจะตกอยู่ในอรมรณ์ภาวะแบบนั้น รู้สึกได้เองว่า เป็นงานที่งาม กวีไม่ได้เรียกร้องอะไรจากคนอื่นเลย แม้กระทั่งคนอ่าน

“กวีผ่านมาจากตัวผมลงไปที่หน้ากระดาษ จากนั้น จะเป็นของใครก็ได้ จะนำไปตีความอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตีความเหมือนคนเขียน ก็เหมือนเราอ่านงานคนอื่น ก็นำไปแตกกอต่อก้านต่อไป ไม่เหมือนกับที่คนเขียนต้องการ ผมว่า ปัจจุบันกวียิ่งจำเป็น เพราะสังคมที่เคลื่อนตัวไปรวดเร็วและเคลื่อนไปแบบหลวมๆ ไปแบบไม่มีทิศทาง สะเปะสะปะ บางเรื่องก็ไปตามก้นฝรั่ง เรามองข้ามพื้นฐานไปหมด เหมือนกับเราไม่มีรากเหง้า ทั้งที่จริงๆ บทกวีเรามีรากเหง้ามาหลายร้อยปีแล้ว จริงๆ ประเทศจะพัฒนาได้ต้องมีสองด้าน คือด้านของวัตถุและด้านของจิตใจสุนทรียะ เราขาดด้านใดด้านหนึ่งก็จะน่ากลัว ขาดความละเอียดอ่อน” คุณเรวัตร์ บรรยายความเป็นบทกวี

คุณเรวัตร์ กล่าวอีกว่า กวีก็เป็นศาสนา เป็นการตั้งคำถามกับตัวเอง เป็นความจริง ความลวง ความดี ความงาม เพียงแต่คุณจะเลือกแบบไหน และกวีถือเป็นเครื่องมือราคาถูกที่ช่วยพัฒนาจิตใจเราและทำให้ใจสงบได้ เต็มที่ก็เล่มละไม่เกินสองร้อย และสามารถส่งต่อกันไปได้ด้วย บทกวีชิ้นหนึ่งก็เท่ากับชีวิตของคนเขียน เพราะสั่งสมประสบการณ์มาเท่าชีวิต

เมื่อถามถึงผลงาน คุณเรวัตร์ ตอบว่า มีนวนิยาย สวนโลก ในโครงการวรรณกรรมชุมชนของ สสส. มีบทกวีที่เพิ่งพิมพ์เมื่อต้นปี 2556 คือ แม่น้ำเดียวกัน  


ถามไปถึงการใช้โซเชียลมีเดีย คุณเรวัตร์ ยอมรับว่า ไม่จัดเจนเรื่องนี้ นานๆ ทีถึงจะเข้าไป เพราะระมัดระวังตัวเอง หากเร็วเกินไปจะพลาด มันเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ จึงต้องผ่านการกลั่นกรองก่อน เทคโนโลยีควรมาตอบสนองเราในด้านดีมากกว่าด้านดำมืด มันไม่ใช่มนต์ดำที่จะเสกหนังควายเข้าท้องใคร มันเป็นเทคโนโลยี ให้กำลังใจกันทางเฟซก็ได้

เมื่อถามว่า กวีต้องคู่กับน้ำเมาจริงหรือ คุณเรวัตร์ ตอบกลั้วเสียงหัวเราะว่า ก็คิดมาตลอดว่า กวีกินเหล้าเหมือนมีปมอะไรสักอย่าง ผมกินเหล้า แต่ไม่เคยให้ร้ายเหล้านะ ถ้ามีอะไร จะโทษตัวเองมากกว่า พร้อมย้ำน้ำเสียงหนักแน่นว่า ไม่เคยทำงานในเวลาเมา จะทำในช่วงที่มีสติสมบูรณ์ ส่วนเวลาเจอเพื่อนฝูงที่นานๆ เจอกันทีก็มีการสังสรรค์ ถือเป็นน้ำมิตร แทนน้ำเมา

คุณเรวัตร์ กล่าวทิ้งท้ายสำหรับผู้ที่อยากจะเป็นนักเขียนว่า ยังเป็นสากลได้ทุกเวทีคือ ต้องอ่านเยอะ ถ้าไม่อ่านงานคนอื่นจะตันได้ง่าย ต้องอ่านทั้งงานไทย งานต่างประเทศ แล้วจะหาหนทางของตัวเองวันหนึ่ง เป็นการสะสมคลังคำ เมื่ออ่านเยอะแล้ว ถ้าอยากเป็นนักเขียน ก็ง่ายๆ คือ ลงมือเขียน ลองผิดลองถูก อาจไม่เป็นผลเลิศในระยะเวลาอันใกล้ แต่วันหนึ่งก็จะได้สัมผัสดอกผลของมัน เรียกว่า หาน้ำเสียงของตัวเองเจอ

เรียบเรียง : อริสรา ประดิษฐสุวรรณ