รายการ สถานีสุวรรณภูมิ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน




คือบัณฑิตเพลิงชมพูครุศาสตร์
มหาบัณฑิตสมมาดสาวอักษร
จามจุรีศรีจุฬาถิ่นนาคร
ที่เสกพรให้เป็น"ครู"รู้ค่างาน

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

"หัวใจห้องที่ห้า"คว้าซีไรต์ปี 56


"หัวใจห้องที่ห้า"คว้าซีไรต์ปี 56
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์6 กันยายน 2556 14:29 น.



       ผลการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2556 ปรากฏว่าหนังสือรวมกวีนิพนธ์"หัวใจห้องที่ห้า" ของ อังคาร จันทราทิพย์ ได้รับรางวัลไปครอง 
     
       วันนี้(6 ก.ย.) คณะกรรมการการคัดเลือกหนังสือรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้ประกาศรางวัลซีไรต์ประจำปี 2556 ซึ่งผลปรากฏว่า หนังสือรวมกวีนิพนธ์"หัวใจห้องที่ห้า" ของ อังคาร จันทราทิพย์ ได้รับรางวัล จากหนังที่เข้ารอบ 7 เล่ม ประกอบด้วย 1.ของฝากจากแดนไกล ของโชคชัย บัณฑิต 2.ต่างต้องการความเหงา ของศิวกานท์ ปทุมสูติ 3.บ้านในหมอก ของสุขุมพจน์ คำสุขุม 4.ผู้ออกแบบเส้นขอบฟ้า ของจเด็จ กำจรเดช 5.เมฆาจาริก ของธมกร 6.โลกใบเล็ก ของพลัง เพียงพิรุฬห์ และ 7.หัวใจห้องที่ห้า ของอังคาร จันทราทิพย์
     
       สำหรับ"หัวใจห้องที่ห้า"เป็นกวีนิพนธ์แนวฉันทลักษณ์ ใช้คำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพเป็นหลักในการนำเสนอ นอกจากนี้ยังมีโคลงสี่สุภาพ กาพย์ฉบัง 16 เป็นฉันทลักษณ์ที่เขียนได้ถูกต้องตามกฏเกณฑ์เป็นระเบียบ แบ่งเนื้อหาสาระเป็นภาคแรกหัวใจห้องที่ห้า ภาคหลัง นิทานเดินทาง และภาคผนวก ภาคแรกผู้ประพันธ์นำเสนอมุมมองของสังคมในมิติต่างๆ ของอดีต เชื่อมโยงสู่ความเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ทั้งจากการสั่งสมประสบการณ์และความความรู้สึกนึกคิด ในท่ามกลางวิกฤติการณ์หลายด้สน แต่ผู้ประพันธ์มีหัวใจใฝ่หาความสุขสงบ เสมือนหัวใจห้องที่ห้า “ดวงใจใฝ่ฝันสันติสุข ท่ามกลางทุกข์กระพือไฟไม่สุดสิ้น ชีวิตหยัดอยู่และรู้ยิน รัก และหวังดั่งฝนรินลงดับร้อน”
     
       องค์ประกอบที่เป็นจุดเด่นของผู้ประพันธ์คือ ความสามารถในการใช้กลวิธีนำเสนอแนวคิด ปัญหาสังคมชนบท สังคมเมืองในเชิงวิภากษ์วิจารณ์ เพื่อให้ผู้อ่านนำไปคิดเอง โดยเล่าเรื่องในอดีตเชื่อมโยงกับปัญหาสังคมในยุคปัจจุบันได้ย่างมีสัมพันธภาพ เนื้อหาสาระและรูปแบบสอดคล้องต้องกันอย่างเหมาะสมกลมกลืน มองเห็นอัตลักษณ์ของตัวผู้ประพันธ์ แม้ว่าจะมีภาษาถิ่นปรากฏอยู่บ้าง แต่ผู้เขียนก็ดิอธิบายเป็นเชิงอรรถไว้เพื่อช่วยเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสาระของกวี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น