รายการ สถานีสุวรรณภูมิ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน




คือบัณฑิตเพลิงชมพูครุศาสตร์
มหาบัณฑิตสมมาดสาวอักษร
จามจุรีศรีจุฬาถิ่นนาคร
ที่เสกพรให้เป็น"ครู"รู้ค่างาน

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


นักเขียนรางวัลศิลปาธรปี ๒๕๕๗
     เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

ที่มา : www.innnews.co.th


'เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์'คว้ารางวัลศิลปาธร57
ข่าวศิลปะและวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2557 17:13น.
549696
"เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์" คว้ารางวัล "ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร 2557"
เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ นักเขียนรางวัล "ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร 2557" ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้รับรางวัลซีไรต์จากเรื่องแม่น้ำรำลึก เป็นชาว ตำบลวังลึก อ.สามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 อายุ 48 ปี เรียนจบมัธยม 6 จากโรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม 
เริ่มต้นงานเขียน เมื่อพ.ศ. 2528 ไปพร้อมๆ กับการผันตัวเองไปเป็นชาวไร่ เคยมีประสบการณ์เข้มข้นจากการเป็นทหารเกณฑ์ คนงานในโรงงานผลิตรองเท้า คนดูแลสวน ปัจจุบันเขาเดินทางกลับบ้านเกิดที่ท้องทุ่งศรีประจันต์ ทิ้งกายอุทิศใจให้กับผืนแผ่นดิน ดำเนินชีวิตเป็นเกษตรกรธรรมชาติ 
ผลงานเขียนรวมบทกวีมีตั้งแต่ปี 2538 ในเรื่อง "บ้านแม่น้ำ",ปี 2545 "ชีวิตสำมะหาอันใด" ซึ่งเคยเข้ารอบ 7 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรท์ในปี 2545 และปี 2546 "นักปั้นน้ำ" และ "แม่น้ำรำลึก"
"แม่น้ำรำลึก" ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ คว้ารางวัลรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรท์ ประจำปี 2547 ซึ่ง "เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" อดีตกวีซีไรท์ หนึ่งในคณะกรรมการ ตัดสินกล่าวยกย่องงานเขียนชิ้นนี้ว่า "กวีพนธ์นี้มีความงามทั้งด้านวรรณศิลป์และเนื้อหา โครงเรื่องมีเอกภาพ โดดเด่นด้านจินตภาพ เนื้อหาที่เป็นการนำเสนอวัยเยาว์อัน กระจ่างในความทรงจำ อ่านแล้วกินใจ บางบทถึงกับน้ำตาซึม ความงามของหนังสือเล่มนี้"
สรุปได้เป็น 4 ประการหลักคือ 1. เป็นกวีที่มีชั้นเชิงและวรรณศิลป์สูง 2.เป็นกวีที่สามารถสร้างจิตนการให้ผู้อ่านอย่างกว้างไกลและลุ่มลึก 3. มีศิลปะในการนำเสนอแบบเดียวกันกับเรื่องสั้นที่โดดเด่นมาก อีกทั้งยังเป็นกวีที่ไม่จงใจกำหนดความรู้สึกให้แก่ผู้อ่าน และ 4.มีความเป็นเอกภาพสูง
ล่าสุดคณะกรรมการตัดสินรางวัลศิลปาธร ได้ตัดสินว่า "นักเขียนผู้ที่จะได้รับรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร 2557" คือ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์....ด้วยจากเป็นนักเขียนงานได้ทุกประเภท และยังยึดโยงอยู่กับรากเหง้า มุ่งสู่จิตวิญญาณพื้นถิ่นดุจดังการเดินทางสู่ด้านใน และสะท้อนสู่สากลผ่านงานเขียนด้วยดังดวงตามองเห็น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง Related News

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น